วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

8 วิธีง่ายๆ คลายเครียดเวลางาน


8 ความจริง TAXI ไทย


7 แฟชั่นอันตราย


อาหารที่ทานทีเดียว อ้วน!!


นวดถนอมสายตา ฉบับออฟฟิศ


แต่งงาน ต้องจ่ายเท่าไหร่


AEC ไม่รู้ ไม่พร้อม ไม่ได้แล้ว

กำเนิดอาเซียนและวัตถุประสงค์

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ อาเซียน (Association of South East Asian Nations : ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีจาก 5 ประเทศ ได้แก่
นายอาดัม มาลิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
ตุน อับดุล ราซัก บิน ฮุสเซน รองนายกรัฐมนตรีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติประเทศมาเลเซีย
นายนาซิโซ รามอส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
นายเอสราชารัตนัม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐสิงคโปร์
และพันเอก(พิเศษ) ดร. ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศราชอาณาจักรไทย  เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510

มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพเสถียรภาพ และความมั่นคงปลอดภัยทางการเมืองสร้างสรรค์ความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคม และวัฒนธรรม การกินดีอยู่ดีบนพื้นฐานของความเสมอภาค และผลประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งจากเจตจำนงที่สอดคล้องกันนี้นำไปสู่การขยายสมาชิกภาพ โดยบรูไนดารุสซาลาม ได้เข้าเป็นสมาชิกในลำดับที ่ 6 เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2527 สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 7 เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2538 สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและสหภาพพม่าเข้าเป็นสมาชิกพร้อมกัน เมื ่อวันที ่ 23 กรกฎาคม 2540 และราชอาณาจักรกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 10 เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542 ทำให้ปัจจุบันอาเซียนมีสมาชิกรวมทั้งหมด 10 ประเทศ

ปฏิญญากรุงเทพฯ ได้ระบุวัตถุประสงค์สำคัญ 7 ประการของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่
(1) ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ และการบริหาร
(2) ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
(3) เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ พัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
(4) ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
(5) ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัยและส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้
(6) เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรมการขยายการค้า ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม  และ
(7) เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอกองค์การความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ และองค์การระหว่างประเทศ

นโยบายการดำเนินงานของอาเซียนจะเป็นผลจากการประชุมหารือในระดับหัวหน้ารัฐบาลระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนทั้งนี้การประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) หรือ การประชุมของ
ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นการประชุมระดับสูงสุดเพื่อกำหนดแนวนโยบายในภาพรวมและเป็นโอกาสที่ประเทศสมาชิกได้ร่วมกันประกาศเป้าหมายและแผนงานของอาเซียนในระยะยาว ซึ่งจะปรากฏ
เป็นเอกสารในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ
แผนปฏิบัติการ (Action Plan)
แถลงการณ์ร่วม (Joint Declaration)
ปฏิญญา (Declaration)
ความตกลง (Agreement) หรือ
อนุสัญญา (Convention)
ส่วนการประชุมในระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโส จะเป็นการประชุมเพื่อพิจารณาทั้งนโยบายในภาพรวมและนโยบายเฉพาะด้าน

อาเซียนได้ลงนามร่วมกันในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน ฉบับที ่ 2 (Declaration of ASEAN Concord II หรือ Bali Concord II) เพื่อประกาศจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ภายในปี2563 หรือ ค.ศ. 2020 โดยสนับสนุนการรวมตัว และความร่วมมืออย่างรอบด้าน ในด้านการเมือง ให้จัดตั้ง “ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน” หรือ ASEAN PoliticalSecurity Community (APSC) ด้านเศรษฐกิจให้จัดตั้ง “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” หรือ ASEAN Economic Community (AEC)
และด้านสังคมและวัฒนธรรมให้จัดตั้ง “ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน” หรือ ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC)

ซึ่งต่อมาผู้นำอาเซียนได้เห็นชอบให้เร่งรัดการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนให้เร็วขึ้นกว่าเดิมอีก 5 ปีคือภายในปี2558 หรือ ค.ศ. 2015 โดยได้เล็งเห็นว่าสถานการณ์โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อาเซียน
จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถคงบทบาทนำในการดำเนินความสัมพันธ์ในภูมิภาคและตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง

สัญลักษณ์ของอาเซียน

สัญลักษณ์ของอาเซียนเป็นรวงข้าวสีเหลือง 10 มัด หมายถึง การที่ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศรวมกัน เพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน อยู่ในพื้นที่วงกลม
สีแดงสีขาวและน้ำเงิน ซึ่งแสดงถึงความเป็นเอกภาพ มีตัวอักษรคำว่า “asean” สีน้ำเงิน อยู่ใต้ภาพรวงข้าวอันแสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันเพื่อความมั่นคง สันติภาพ เอกภาพ และความก้าวหน้าของประเทศสมาชิกอาเซียน

สีทั้งหมดที่ปรากฏในสัญลักษณ์ของอาเซียน เป็นสีสำคัญที่ปรากฏในธงชาติของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน
สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
สีแดง หมายถึงความกล้าหาญและความก้าวหน้า
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
และสีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง

เพลงประจำอาเซียน (ASEAN Anthem)
การจัดทำเพลงประจำอาเซียน เป็นการดำเนินการตามข้อ 40 ของกฎบัตรอาเซียนที ่กำหนดให้อาเซียน “มีเพลงประจำอาเซียน”
 ในปี2551 ประเทศไทยได้รับความไว้วางใจจากประเทศสมาชิกอาเซียน ให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเพลงประจำอาเซียน ซึ่งได้จัดเป็นการแข่งขันแบบเปิดให้ประชาชนในประเทศสมาชิกอาเซียนที่สนใจ
ส่งเพลงของตนเองเข้าประกวด (open competition) โดยมีหลักเกณฑ์ 5 ประการ ได้แก ่
1. มีเนื้อร้องเป็นภาษาอังกฤษ
2. มีลักษณะเป็นเพลงชาติประเทศสมาชิกอาเซียน สัญลักษณ์ของอาเซียน ประเทศไทยกับ
                  อาเซียน 11
3. มีความยาวไม ่เกิน 1 นาที
4. เนื้อร้องสะท้อนความเป็นหนึ่งเดียวของอาเซียน และความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม
                 และเชื้อชาติ
5. เป็นเพลงที่แต่งขึ้นใหม่

กระทรวงการต่างประเทศ เป็นเจ้าภาพจัดการประกวดแข่งขันเพลงประจำอาเซียนในระดับภูมิภาค การแข่งขันรอบแรกมีขึ้นเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2551 ที่โรงแรม Pullman Bangkok King Power มีกรรมการจากประเทศสมาชิกอาเซียนประเทศละ 1 คน ในส่วนของประเทศไทย ฯพณฯ องคมนตรีพล.ร.อ. อัศนีปราโมช ได้ให้เกียรติรับเป็นกรรมการฝ่ายไทยและทำหน้าที่ประธานการประชุมคัดเลือกเพลง
คณะกรรมการได้คัดเลือกเพลงจำนวน 10 เพลง จาก 99 เพลงที่ส่งเข้าประกวดจากทุกประเทศสมาชิกอาเซียน (เป็นเพลงที่แต่งโดยชาวไทย 11 เพลง) และการแข ่งขันรอบตัดสินมีขึ้นเมื่อวันที่ 20
พฤศจิกายน 2551 คณะกรรมการตัดสินประกอบด้วยกรรมการชุดเดิมจากอาเซียนจำนวน 10 คน และจากนอกอาเซียนอีก 3 คน คือ ประเทศญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาชนจีน และเครือรัฐออสเตรเลีย ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์เลือกเพลง ASEAN Way ของไทยที่แต่งโดยนายกิตติคุณ สดประเสริฐ (ทำนองและเรียบเรียง) นายสำเภา ไตรอุดม (ทำนอง) และ นางพะยอม วลัยพัชรา (เนื้อร้อง) ให้เป็นเพลงประจำอาเซียน และได้ใช้บรรเลงอย ่างเป็นทางการในพิธีเปิดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์2552

การมีเพลงประจำอาเซียนถือว่ามีความสำคัญต่ออาเซียนเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการเสริมสร้างอัตลักษณ์ของอาเซียนอันจะเป็นประโยชน์ต่อการเชื่อมโยงประชาชนของรัฐสมาชิกอาเซียนเข้าไว้ด้วยกัน และการที่ไทยได้รับความไว้วางใจจากประเทศสมาชิกอาเซียนให้เป็นเจ้าภาพจัดการประกวดแข่งขันเพลงประจำอาเซียนรวมทั้งเพลงจากไทยได้รับคัดเลือกให้เป็นเพลงประจำอาเซียน ถือเป็นเกียรติภูมิของประเทศ และแสดงถึงความสามารถของคนไทยด้วย

กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)
ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 เมื่อปี 2550 ที่ประเทศสิงคโปร์ผู้นำอาเซียนได้ลงนาม ในกฎบัตรอาเซียน ซึ่งเปรียบเสมือนธรรมนูญของอาเซียนที่จะวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี2558 ตามที ่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้

โดยวัตถุประสงค์ของกฎบัตร คือ ทำให้อาเซียนเป็นองค์การที่มีประสิทธิภาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลางและเคารพกฎกติกาในการทำงานมากขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรอาเซียนจะเป็นสถานะนิติบุคคล
แก ่อาเซียนในฐานะที ่เป็นองค์กรระหว ่างรัฐบาล(Intergovernmental Organization)
จุดเด่นประการหนึ่งของกฎบัตรอาเซียน คือ การที่ข้อบทต่างๆถูกกำหนดขึ้นเพื่อให้อาเซียนเป็นองค์กรที่ประชาชนเข้าถึง และเอื้อประโยชน์ต ่อประชาชนในประเทศสมาชิกมากยิ ่งขึ้น กฎบัตรอาเซียนประกอบด้วยบทบัญญัติ13 บท รวม 55 ข้อย่อย อาจสรุปบทบัญญัติที่สำคัญของกฎบัตรอาเซียนได้ดังนี้

บทที่ 1 เป้าหมายและหลักการ (Purposes and Principles)
ระบุเป้าหมายของอาเซียนและหลักการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสมาชิก ได้แก่ เป้าหมายการส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ ความสามารถในการแข่งขันของภูมิภาค ความกินดีอยู่ดีของประชาชน
ความมั่นคงของมนุษย์การส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจการเมืองสังคมและวัฒนธรรม การลดช่องว่างของการพัฒนาการส่งเสริมประชาธิปไตย การเคารพสิทธิมนุษยชน การพัฒนาอย่างยั่งยืน
สิ่งแวดล้อม การศึกษายาเสพติด การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน เป็นต้น ส่วนหลักการ ได้แก่ เรื่องอำนาจอธิปไตย การไม ่แทรกแซงกิจการภายในหลักนิติธรรมและธรรมาภิบาลและการเคารพความแตกต่าง เป็นต้น

บทที่ 2 สถานะบุคคล (Legal Personality) 
ให้อาเซียนมีสถานะบุคคล

บทที่ 3 สมาชิกภาพ (Membership)
กำหนดกฎเกณฑ์และกระบวนการในการรับสมาชิกใหม ่ เช่น ต้องเป็นประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และได้รับการรับรองจากประเทศสมาชิกอาเซียนและต้องยินยอมผูกพันตามกฎบัตรและสามารถปฏิบัติตามพันธกรณีของรัฐสมาชิก รวมทั้งกำหนดสิทธิและหน้าที่ของรัฐสมาชิกไว้กว้าง ๆ คือรัฐสมาชิกจะมีสิทธิและหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎบัตร และความตกลงต่างๆ ของอาเซียน รวมถึงหน้าที่ในการออกกฎหมายภายในเพื ่อรองรับพันธกรณีด้วย

บทที่ 4 องค์กรของอาเซียน (Organs) ประกอบด้วย
1. ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) เป็นองค์กรสูงสุดในการกำหนดนโยบายและมีการประชุมปีละ 2 ครั้ง
 2. คณะมนตรีประสานงานอาเซียน (ASEAN Coordinating Council) ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียน ทำหน้าที่เตรียมการประชุมสุดยอดอาเซียน ประสานงานระหว่าง 3 เสาหลัก เพื่อความเป็นบูรณาการในการดำเนินงานของอาเซียน และแต่งตั้ง
รองเลขาธิการอาเซียน
3. คณะมนตรีประชาคมอาเซียน (ASEAN Community Council) สำหรับ 3 เสาหลักของประชาคมอาเซียนประกอบด้วยผู้แทนที่แต่ละประเทศสมาชิกแต่งตั้งเพื่อทำหน้าที่ประสานงานและติดตามการดำเนินงานตามแนวนโยบายของผู้นำทั้งในเรื่องที่อยู่ภายใต้เสาหลักของตน และเรื่องที่เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหลายเสาหลัก และเสนอรายงานและข้อเสนอแนะในเรื่องที่อยู่ภายใต้การดูแลของตนต่อผู้นำประเทศไทยกับอาเซียน 15
4. องค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขา (ASEAN Sectoral Ministerial Bodies) จัดตั้งโดยที่ประชุมสุดยอดอาเซียน
5. สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat)อยู ่ภายใต้บังคับบัญชาของเลขาธิการอาเซียน (Secretary General of ASEAN)
6. คณะผู้แทนถาวรประจำอาเซียน (Committee of Permanent Representatives (CPR) to ASEAN) ที่กรุงจาการ์ตา โดยประเทศสมาชิกจะแต่งตั้งผู้แทนระดับเอกอัครราชทูตเพื่อทำหน้าที่เป็นคณะผู้แทนถาวรประจำอาเซียน ที่กรุงจาการ์ตา
7. สำนักเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ (ASEAN National Secretariat) จัดตั้งโดยประเทศสมาชิกแต่ละประเทศ
8. องค์กรสิทธิมนุษยชนของอาเซียน (ASEAN human rights body - AHRB) มีหน้าที่ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในภูมิภาค
9. มูลนิธิอาเซียน (ASEAN Foundation) มีหน้าที่สนับสนุนเลขาธิการอาเซียนและประสานงานกับองค์กรอื่นๆของอาเซียน

บทที่ 5 องค์กรที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียน (Entities Associated with ASEAN) 
ให้อาเซียนสามารถมีปฎิสัมพันธ์กับองค์กรต่างๆ ที่สนับสนุนหลักการและวัตถุประสงค์ของอาเซียนตาม
รายชื่อในภาคผนวกของกฎบัตรได้ โดยภาคผนวกจะแบ่งประเภทองค์กรดังกล่าวเป็น 5 ประเภท ได้แก่
1) องค์กรรัฐสภา คือ สมัชชารัฐสภาอาเซียน (ASEAN Inter-Parliamentary Assembly- AIPA)
2) องค์กรภาคธุรกิจ
3) องค์กรภาคประชาสังคมที่ได้รับการรับรองโดยอาเซียน
4) กลุ ่ม think tank และองค์กรด้านการศึกษา และ
5) องค์กรอื่นๆ โดยให้อำนาจเลขาธิการอาเซียนในการปรับปรุง
ภาคผนวกตามข้อเสนอแนะของคณะผู้แทนถาวรประจำอาเซียน16 ประเทศไทยกับอาเซียน

บทที่ 6 เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต (Immunities and Privileges) 
ระบุหลักการกว้างๆ ในการให้เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตแก่
1) สำนักเลขาธิการอาเซียนและองค์กรอื่นๆของอาเซียน
2) เลขาธิการอาเซียนและเจ้าหน้าที่ของสำนักเลขาธิการอาเซียน และ
3) ผู้แทนถาวรของรัฐสมาชิก ณ กรุงจาการ์ตา และผู้แทนของรัฐสมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรมของอาเซียน เช่น เดินทางไปประชุม เป็นต้น โดยรายละเอียดให้เป็นไปตามข้อตกลงแยกต ่างหากจากกฎบัตร

บทที่ 7 กระบวนการตัดสินใจ (Decision Making) 
หลักทั่วไปคือ ฉันทามติ(Consensus)แต ่มีข้อยกเว้นได้แก ่1)กรณีที่ไม่มีแนวทางมติอาจส่งเรื่องให้ผู้นำตกลงกันว่าจะใช้วิธีการใดตัดสิน 2) กรณีที่มีข้อตกลงอื่นๆ ของอาเซียนอนุญาตให้ใช้วิธีการอื่นตัดสินใจได้ เช่น ปัจจุบันมีสนธิสัญญาว่าด้วยเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้ที่ให้ใช้คะแนนเสียง 2 ใน 3 ได้และ 3)
กรณีที่มีการละเมิดพันธกรณีตามกฎบัตรอย่างร้ายแรง ผู้นำมีอำนาจตัดสินใจด้วยวิธีการใดๆ ตามที่จะตกลงกันเพื่อกำหนดมาตรการลงโทษ
นอกจากนี้ ยังให้มีความยืดหยุ่นในการผูกพันตามข้อตกลงต่าง ๆ โดยใช้สูตรอาเซียน ลบ X (ASEAN minus X สำหรับความตกลงทางเศรษฐกิจ ซึ่งหมายความว่าหากประเทศสมาชิกทุกประเทศมีฉันทามติ
เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ แล้ว ประเทศที่ยังไม่พร้อมก็อาจเลือกที่จะยังไม่เข้าร่วมได้

บทที่ 8 การระงับข้อพิพาท (Settlement of Disputes)
1) กำหนดในหลักการให้มีกลไกระงับข้อพิพาท (Dispute Settlement Mechanism- DSM) สำหรับทุกเสาหลัก
2) ใช้การปรึกษาหารือและการเจรจาในการระงับข้อพิพาทเป็นอันดับแรก
3) ให้คู่พิพาทสามารถเลือกใช้กระบวนการไกล่เกลี่ย โดยอาจขอให้ประธานอาเซียนหรือเลขาธิการอาเซียนเป็นผู้ไกล่เกลี่ยได้
4) หากความตกลงเฉพาะกำหนดประเทศไทยกับอาเซียน 17 DSM ไว้แล้ว ก็ให้ใช้ DSM นั้น
5) หากข้อขัดแย้งไม่เกี่ยวข้องกับความตกลงของอาเซียนฉบับใดให้ใช้กลไกคณะอัครมนตรีที่จัดตั้งโดย
สนธิสัญญาไมตรีและความร ่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
6) หากไม่อาจหาข้อยุติในข้อขัดแย้งได้อาจยกเรื ่องให้ที ่ประชุมสุดยอด
อาเซียนตัดสิน
7) ให้เลขาธิการอาเซียนติดตามตรวจสอบการปฎิบัติตามคำแนะนำ/คำตัดสินจาก DSM ของประเทศสมาชิกและจัดทำรายงานเสนอผู้นำ
8) กำหนดให้นำเรื ่องการไม ่ปฎิบัติตามคำแนะนำ/คำตัดสินจาก DSM ให้ผู้นำพิจารณา และ
9) กฎบัตร ไม่ตัดสิทธิของประเทศสมาชิกที่จะใช้รูปแบบการระงับข้อพิพาทตามกฎบัตรสหประชาชาติหรือกฏหมายระหว่างประเทศอื่น

บทที่ 9 งบประมาณและการเงิน (Budget and Finance)
ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการงบประมาณที่เป็นไปตามมาตรฐานสากลและสามารถตรวจสอบได้และกำหนดเรื่องงบการบริหารงานของสำนักเลขาธิการอาเซียน ซึ่งรัฐสมาชิกจะจ่ายเงินสนับสนุนเท่าๆกันตามที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และสามารถรับเงินสนับสนุนจากประเทศคู่เจรจาได้ แต่จะต้องไม่มีเงื่อนไขพิเศษ ทั้งนี้ กฎบัตรมิได้ระบุเรื่องกองทุนพิเศษต่างๆ เพื่อการดำเนินการของอาเซียน อาทิการดำเนิน
กิจกรรมความร่วมมือ การลดช่องว่างการพัฒนา ฯลฯ เพราะเป็นเรื่องที่จะต้องมีการศึกษาและกำหนดวิธีระดมทุนที่เหมาะสมต่อไป

บทที่ 10 การบริหารงานและกระบวนการ (Administration and Procedure) 
1) กำหนดให้ประธานของที่ประชุมสุดยอดอาเซียนคณะมนตรีประสานงานอาเซียน คณะมนตรีประชาคมอาเซียนและคณะผู้แทนถาวรประจำอาเซียน ตลอดจนองค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขาและองค์กรเจ้าหน้าที่อาวุโสตามที่เหมาะสมมาจากประเทศเดียวกัน (Single Chairmanship) เพื่อส่งเสริมให้การ
ทำงานเป็นเอกภาพและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
2)การเพิ่มบทบาท 18 ประเทศไทยกับอาเซียนประธานในการ
(ก) เป็นผู้ส ่งเสริมผลประโยชน์ของอาเซียนและเป็นผู้ผลักดันการสร้างประชาคมอาเซียน
(ข) เป็นผู้ส่งเสริมความเป็นศูนย์กลางของอาเซียนในแง่การนำนโยบายของอาเซียนเข้าไปผนวก
ไว้ในนโยบายระดับชาติของรัฐสมาชิก และการส่งเสริมบทบาทของอาเซียนในการดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศภายนอกภูมิภาค และ
(ค) ทำให้อาเซียนสามารถจัดการวิกฤตการณ์และสถานการณ์เร่งด่วนที่มีผลกระทบต่ออาเซียนได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ

บทที่ 11 อัตลักษณ์และสัญลักษณ์ของอาเซียน (Identity and Symbols)
กำหนดให้อาเซียน มีหน้าที่ในการส่งเสริม
1) อัตลักษณ์ ซึ่งหมายถึงการสร้างความรู้สึกในการเป็นเจ้าของอาเซียนในหมู่ประชาชน  และ
2) สัญลักษณ์ ได้แก ่ คำขวัญ (วิสัยทัศน์เดียว อัตลักษณ์เดียว ประชาคมเดียว) ธงและดวงตราอาเซียน วันอาเซียน (วันที่ 8 สิงหาคมของทุกปี) และเพลงอาเซียน

บทที่ 12 ความสัมพันธ์กับภายนอก (External Relations)
มีหลักการสำคัญ ดังนี้
1) ให้อาเซียนเป็นผู้ผลักดันหลักในการรวมกลุ่มระดับภูมิภาคที่อาเซียนริเริ่มขึ้น และเน้นการเป็นศูนย์กลางของอาเซียนในโครงสร้างความสัมพันธ์ระดับภูมิภาค
2) ให้ประเทศ
สมาชิกพยายามหาท่าทีร่วมในเวทีระหว่างประเทศต่างๆ
3) กำหนด
ให้ประเทศผู้ประสานงาน (Country Coordinator) มีหน้าที่ประสานงาน
ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา หรือองค์กร
ระหว่างประเทศอื่น โดยมีคณะกรรมการอาเซียนในประเทศที่ 3
หรือองค์กรระหว่างประเทศ (ASEAN Committees in Third
Countries andInternational Organizations) เป็นผู้สนันสนุนการทำงาน
โดยเฉพาะการส่งเสริมความสัมพันธ์กับประเทศที่คณะกรรมการนั้นประเทศไทยกับอาเซียน 19
ตั้งอยู่
4) ให้รัฐมนตรีต ่างประเทศอาเซียนในฐานะองค์กรความร่วมมือเฉพาะสาขาเป็นผู้ดูแลความสอดคล้องและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของการดำเนินความสัมพันธ์ภานนอกของอาเซียน
5) ให้อำนาจคณะมนตรีประสานงานอาเซียนแต่เพียงองค์กรเดียวในการกำหนดสถานะความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับประเทศหรือองค์กรภายนอกโดยที่ประชุมรัฐมนตรีอื่นๆสามารถเชิญประเทศหรือองค์กรภายนอกเจ้าร่วมกิจกรรมได้เป็นครั้งคราวและ
6) ให้การรับรองเอกอัครราชทูตที่ประเทศอื ่นแต ่งตั้งให้เป็นผู้แทนประจำอาเซียน

บทที่ 13 บทบัญญัติทั่วไปและบทบัญญัติสุดท้าย (General and Final Provisions) 
กำหนดเรื่องพันธกรณีของประเทศสมาชิกในการปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้กฎบัตร และความตกลงต่าง ๆ ของอาเซียน การมีผลใช้บังคับของกฎบัตรเมื่อทุกประเทศให้สัตยาบันการภาคยานุวัติของประเทศสมาชิกใหม่ ซึ่งเป็นที่เข้าใจว่าจะเปิดให้เฉพาะประเทศติมอร์เลสเตเท่านั้น การแก้ไขกฎบัตรการทบทวนกฎบัตร 5 ปีหลังจากกฎบัตรมีผลใช้บังคับหรือตามที ่ผู้นำกำหนด การตีความกฎบัตร ซึ่ง HLTF จะต้องหารือเรื่องกลไกที่เหมาะสมต่อไป
การกำหนดให้ความตกลงอาเซียนที่มีอยู่ในปัจจุบันมีผลใช้บังคับต่อไป และให้กฎบัตรมีผลเหนือกว่าความตกลงในกรณีที่มีความขัดแย้งกันกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของอาเซียน
กฎบัตรอาเซียนมีผลใช้บังคับตั้งแต ่วันที ่ 15 ธันวาคม 2551 กล่าวคือ หลังจากที่ประเทศสมาชิกครบทั้ง 10 ประเทศ ได้ให้สัตยาบันกฎบัตร และการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ระหว่างวันที่
28 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2552 ที ่จังหวัดเพชรบุรี ประเทศไทย เป็นการประชุมระดับผู้นำอาเซียนครั้งแรกหลังจากกฎบัตรมีผลบังคับใช้

กลไกการบริหารของอาเซียน (Organs)
1. ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) เป็นองค์กรสูงสุดในการกำหนดนโยบาย และมีการประชุมปีละ 2 ครั้ง มีหน้าที่
1) ให้แนวนโยบายและตัดสินใจเรื ่องสำคัญๆ
2)สั่งการให้มีการประชุมระดับรัฐมนตรีเป็นการเฉพาะกิจเพื่อพิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเสาหลักต่างๆ มากกว่า 1 เสา
3) ดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่กระทบต่ออาเซียน
4) ตัดสินข้อพิพาทระหว่างรัฐสมาชิก กรณีที่ไม่อาจหาข้อยุติในข้อขัดแย้งได้ หรือมีการไม่ปฏิบัติตามคำตัดสินของกลไกระงับข้อพิพาท
5) ตั้งหรือยุบองค์กรอาเซียน
6) แต่งตั้งเลขาธิการอาเซียน

2. คณะมนตรีประสานงานอาเซียน (ASEAN Coordinating Council) ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียน ทำหน้าที่เตรียมการประชุมสุดยอดอาเซียน ประสานงานระหว่าง 3 เสาหลักเพื ่อความเป็นบูรณาการในการดำเนินงานของอาเซียน และแต่งตั้งรองเลขาธิการอาเซียน

3. คณะมนตรีประชาคมอาเซียน (ASEAN Community Council) สำหรับ 3 เสาหลักของประชาคมอาเซียน ประกอบด้วยผู้แทนที่แต่ละประเทศสมาชิกแต่งตั้งเพื่อทำหน้าที่ประสานงานและติดตามการดำเนินงานตามแนวนโยบายของผู้นำทั้งในเรื ่องที ่อยู ่ภายใต้เสาหลักของตน และเรื่องที่เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหลายเสาหลัก และเสนอรายงานและข้อเสนอแนะในเรื่องที่อยู่ภายใต้การ
ดูแลของตนต ่อผู้นำ

4. องค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขา (ASEAN Sectoral Ministerial Bodies) จัดตั้งโดยที ่ประชุมสุดยอดอาเซียนมีหน้าที่หลัก คือ
1) ดำเนินการตามอาณัติที่มีอยู่แล้ว
2) นำความตกลงและมติของผู้นำไปปฎิบัติ
3) เสริมสร้างความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการสร้างประชาคมอาเซียน
4) เสนอรายงานและข้อเสนอแนะประเทศไทยกับอาเซียน 21 ต่อคณะมนตรีประชาคมอาเซียนที่เหมาะสม และต่อคณะมนตรีประชาคมอาเซียนที่เหมาะสม และ
5) สามารถมีเจ้าหน้าที่อาวุโส หรือองค์กรย่อยเพื่อสนับสนุนการทำงานได้

5. สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) อยู ่ภายใต้บังคับบัญชาของเลขาธิการอาเซียน (Secretary General of ASEAN) ซึ่งมีบทบาทมากขึ้นโดยนอกจากจะเป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารของอาเซียนแล้ว เลขาธิการอาเซียนจะมีบทบาทในการติดตามการปฏิบัติตามคำตัดสินของกลไกระงับข้อพิพาทและรายงานตรงต่อผู้นำ และสนับสนุนการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์กรของอาเซียนกับภาคประชาสังคม ทั้งนี้ ให้มีรองเลขาธิการอาเซียน (Deputy Secretary General) 4 คน โดย 2 คนจะมาจากการหมุนเวียนตามลำดับตัวอักษรประเทศ มีวาระการดำรงตำแหน ่ง 3 ปีและอีก 2 คนมาจากการคัดเลือกตามความสามารถ มีวาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปีและอาจได้รับการต่ออายุได้อีก 1 วาระ

6. คณะผู้แทนถาวรประจำอาเซียน (Committee of Permanent Representatives (CPR) to ASEAN) ที่กรุงจาการ์ตา โดยประเทศ22 ประเทศไทยกับอาเซียน สมาชิกจะแต่งตั้งผู้แทนระดับเอกอัครราชทูตเพื่อทำหน้าที่เป็นคณะผู้แทนถาวรประจำอาเซียน ที่กรุงจาการ์ตา ซึ่งเป็นคนละคนกับเอกอัครราชทูตประจำกรุงจาการ์ตา ทำหน้าที่แทนคณะกรรมาธิการอาเซียน โดยคณะผู้แทนถาวรประจำอาเซียนจะมีบทบาทสำคัญสองด้าน ได้แก่ การเป็นผู้แทนของประเทศสมาชิกและการเป็นผู้แทนของอาเซียน ซึ่งจะเป็นเรื่องการสนับสนุนคณะมนตรีประชาคมอาเซียนและองค์กรความร่วมมือเฉพาะด้านต่างๆ การประสานงานกับสำนักเลขาธิการอาเซียน เลขาธิการอาเซียน และสำนักเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติของแต่ละประเทศสมาชิก และการส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจา

7. สำนักเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ (ASEAN National Secretariat) จัดตั้งโดยประเทศสมาชิกแต่ละประเทศ เพื่อเป็นจุดประสานงานในการประสานงานและสนับสนุนภารกิจต ่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาเซียนภายในประเทศ รวมทั้งการเตรียมการประชุมต่างๆของอาเซียนตลอดจนเป็นศูนย์กลางเก็บรักษาข้อมูลเกี่ยวกับอาเซียนด้วย

8. องค์กรสิทธิมนุษยชนของอาเซียน (ASEAN Human Rights Body- AHRB) มีหน้าที่ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในภูมิภาค โดยจะมีการตั้งคณะผู้เชี่ยวชาญขึ้นมายกร่างเอกสารกำหนดขอบเขต
อำนาจหน้าที ่ (Term Reference) ขององค์กรดังกล ่าวต ่อไป ทั้งนี้ที ่ประชุมรัฐมนตรีต ่างประเทศได้ให้แนวทางว ่า อำนาจหน้าที่ขององค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียนไม ่ควรจำกัดแค ่การให้คำปรึกษาแต่ควรรวมถึงการติดตามและประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในภูมิภาคการส่งเสริมการศึกษาและการตื่นตัวของหน่วยงานภาครัฐและประชาชนด้วย

9. มูลนิธิอาเซียน (ASEAN Foundation) มีหน้าที่สนับสนุนเลขาธิการอาเซียนและประสานงานกับองค์กรอื่นๆ ของอาเซียนในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างประชาชนและความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ ของอาเซียน

ขอบคุณที่มา
http://www.prd.go.th/download/thai_asean.pdf

การพัฒนาสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
http://www.prachapat.ac.th/web1/web/mainfile/qfn5G0Lsd3Np.pdf

CDC Thailand
http://www.cdcthailand.com/aec/index.htm

เอ็นเนียแกรม คุณเป็นคนแบบไหน

ทฤษฎีบุคลิกภาพเอ็นเนียแกรม

คำ Ennea เป็นภาษากรีก แปลว่า ๙ ส่วนคำ gram หมายถึง จุด เอ็นเนียแกรม (Enneagram) จึงแปลว่า ๙ จุด หมายถึง บุคลิกภาพ ๙ แบบ มีผู้แปลคำนี้เป็นภาษาไทยว่า นพลักษณ์ อันหมายถึงลักษณะของคนเก้าแบบ
ชาร์ล ที. ทาร์ต (Charles T. Tart) ศาสตราจารย์ทางจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เขียนในคำนำหนังสือ เอ็นเนียแกรม ศาสตร์เพื่อความเข้าใจตนเองและผู้อื่น (The Enneagram: Understanding Yourself and the Others in Your Life) ที่แต่งโดย Palmer (1988) ว่า คำ เอ็นเนียแกรม คิดค้นโดย เกอร์ดจีฟฟ์ (George Ivanovich Gurdjieff, 1866 - 1949) นักจิตวิทยาชาวรัสเซียผู้สนใจในความรู้โบราณและการพัฒนาตนเอง เกอร์จีฟฟ์เป็นนักจิตวิทยาตะวันตกผู้บุกเบิกการประยุกต์ใช้แนวคิดการแบ่งบุคลิกภาพแบบเอ็นเนียแกรมที่มีรากฐานมาจากตะวันออกกลาง เขาสอนว่าเราทุกคนมีลักษณะหลัก (chief feature) ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของลักษณะต่างๆ ที่บิดเบี้ยวในบุคลิกภาพของเรา ถ้าเรารู้ลักษณะหลักของเรา ก็จะสามารถเข้าใจและก้าวพ้นลักษณะที่บิดเบี้ยวของบุคลิกภาพเหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เกอร์จีฟฟ์เรียกบุคลิกภาพที่บิดเบี้ยวนี้ว่า บุคลิกเทียม (false personality) เพราะมันเป็นสิ่งที่เราถูกบังคับมาตั้งแต่วัยเด็ก ไม่ได้เกิดจากการเลือกอย่างอิสระของเรา” (พาล์มเมอร์, ๒๕๔๘ : ๒๒) ทาร์ตยังเห็นว่า เอ็นเนียแกรม ช่วยดึงพลังชีวิตของเรากลับมาจากกลไกป้องกันตนเองที่เป็นอุปสรรคทำให้เราเข้าไม่ถึงธรรมชาติเดิมแท้ (essential nature) ของเราเอง” (พาล์มเมอร์, ๒๕๔๘ : ๒๓)

Enneagram
         เอ็นเนียแกรมหรือนพลักษณ์ คือ บูรณาการของภูมิปัญญาโบราณ ใช้ในการศึกษาบุคลิกลักษณะของบุคคล โดยแบ่งคนออกเป็น 9 ประเภท ทำให้เข้าใจตนเองและผู้อื่นอย่างลึกซึ้ง นำไปสู่การพัฒนาตนเอง เข้าใจในความแตกต่างของเพื่อนมนุษย์ และช่วยพัฒนาทำให้ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน ปัจจุบันนิยมใช้เอ็นเนียแกรมในทางจิตวิทยา และเป็นซอฟต์สกิลในการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์

เอ็นเนียแกรมจำแนกบุคลิกภาพของคนออกเป็น ๙ ลักษณ์ ได้แก่
          ลักษณ์ ๑ คนสมบูรณ์แบบ (The perfectionist) วิพากษ์วิจารณ์ตนเองและผู้อื่น เชื่อว่าวิธีที่ถูกต้องมีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น รู้สึกว่าตนมีจริยธรรมเหนือคนอื่น ชอบผัดวันประกันพรุ่ง ไม่ยอมลงมือทำเสียที เพราะกลัวว่าจะทำผิดพลาด ชอบพูดคำว่า “ควร” และ “ต้อง” อยู่เสมอ คนสมบูรณ์แบบที่พัฒนาตนแล้วมักจะมีความเฉียบแหลมในการวิจารณ์และเป็นผู้นำในทางจริยธรรม

         ลักษณ์ ๒ ผู้ให้ (The giver) ต้องการความรักและการยอมรับ พยายามให้คนอื่นรักและชื่นชมด้วยการพยายามทำตัวให้เป็นคนสำคัญที่คนอื่นขาดไม่ได้ อุทิศตนเพื่อสนองความต้องการของคนอื่น ใช้วิธีการต่างๆ เพื่อเข้าควบคุมจัดการคนอื่น มีหลายตัวตน นั่นคือ ปรับเปลี่ยนตนเองไปตามเพื่อนสนิทหรือบุคคลสำคัญแต่ละคน ใช้การยั่วยวนเชิงรุก คนประเภทผู้ให้ที่พัฒนาตนแล้วจะเป็นคนที่เอาใจใส่และช่วยเหลือคนอื่นอย่างบริสุทธิ์ใจ

          ลักษณ์ ๓ นักแสดง (The performer) สร้างผลงานและความสำเร็จเพื่อให้เป็นที่รัก ชอบแข่งขัน ยึดติดกับภาพลักษณ์ของผู้ชนะ และการเปรียบเทียบสถานะกับคนอื่น มีบุคลิกภายนอกที่เป็นเลิศ บ้างาน ชอบทำงานแข่งกับเวลา สับสนระหว่างตัวตนที่แท้จริงกับบทบาทหน้าที่การงาน อาจดูมีประสิทธิภาพมากกว่าที่เป็นจริง คนประเภทนักแสดงที่พัฒนาตนแล้วสามารถเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ เจรจายื่นข้อเสนอได้ดี เป็นผู้สนับสนุนหรือผลักดันสิ่งต่างๆ ได้ดี เป็นผู้นำทีมที่ประสบความสำเร็จ

         ลักษณ์ ๔ คนโศกซึ้ง (The tragic romantic) อยากได้ในสิ่งที่ตนไม่มี อยากเป็นในสิ่งที่ตนเองไม่ได้เป็น ไม่พอใจในสิ่งที่เป็นอยู่หรือสิ่งที่ได้มาโดยง่าย มักมีอารมณ์โศกเศร้า อารมณ์ศิลปิน อ่อนไหวง่าย มุ่งมั่นในเรื่องความงามและอารมณ์ลึกซึ้งภายใน หมกมุ่นกับเรื่องคนรักหรือเพื่อนที่จากไป คนโศกซึ้งที่พัฒนาตนแล้วเป็นคนที่มีวิถีชีวิตสร้างสรรค์ สามารถช่วยเหลือคนอื่นฟันฝ่าความทุกข์ ความเจ็บปวด

        ลักษณ์ ๕ นักสังเกตการณ์ (The observer) รักษาระยะห่างทางอารมณ์กับคนอื่น ปกป้องความเป็นส่วนตัว ไม่ชอบเข้าไปพัวพันกับอะไร มีความเป็นอยู่โดยไม่ต้องการอะไรมากเพื่อไม่ให้ต้องข้องเกี่ยวกับคนอื่น รู้สึกสูญสิ้นพลังไปกับการถูกผูกมัดและกับความต้องการของผู้อื่น แบ่งชีวิตออกเป็นส่วนๆ แยกตัวจากคนอื่น จากความรู้สึก และจากสิ่งต่างๆ นักสังเกตการณ์ที่พัฒนาตนแล้วสามารถเป็นนักตัดสินใจชั้นเลิศ เป็นนักคิด เป็นนักบวชผู้สันโดษ

       ลักษณ์ ๖ นักปุจฉา (The devil's advocate) ขี้กลัว มีความรับผิดชอบสูง ถูกเกาะกุมด้วยความสงสัย มักจะผัดผ่อนเพราะชอบคิดมากกว่าทำ กลัวที่จะลงมือทำเพราะอาจตกเป็นเป้าของการถูกโจมตี เห็นใจฝ่ายที่เสียเปรียบ ต่อต้านอำนาจ เสียสละและภักดีกับเป้าหมายที่ชอบธรรม นักปุจฉามีสองประเภท ประเภทหนึ่งหวาดกลัว มักลังเลไม่แน่ใจ รู้สึกถูกข่มเหง และจะยอมจำนนเมื่อจนมุม อีกประเภทโต้ตอบความรู้สึกกลัวจากการถูกรุกไล่ให้จนมุมด้วยการออกไปเผชิญหน้ากับความกลัวอย่างกล้าได้กล้าเสีย นักปุจฉาที่พัฒนาตนแล้วสามารถเป็นสมาชิกในทีมที่ดีเยี่ยม เป็นองครักษ์ผู้จงรักภักดี และเป็นเพื่อนที่ดี ทำงานเพื่ออุดมการณ์โดยไม่คิดถึงประโยชน์ส่วนตัว

          ลักษณ์ ๗ นักลิ้มชิมรส (The epicure) เป็นผู้เยาว์วัยตลอดกาล อย่างตัวละครปีเตอร์แพน เป็นผู้รู้สิ่งต่างๆ มากมาย แต่รู้แบบผิวเผิน เป็นผู้รักง่ายหน่ายเร็ว ขี้เบื่อ หยิบโหย่ง ชอบผจญภัย ต้องการสิ่งดีๆ ในชีวิต มักหลีกเลี่ยงการผูกมัดตนเองกับเรื่องใดหรือบุคคลใด ต้องการทางเลือกมากๆ ต้องการอยู่ในอารมณ์ดีเสมอ ร่าเริงมีความสุข และกระตุ้นให้คนอยู่ใกล้มีชีวิตชีวา มีนิสัยชอบริเริ่มสิ่งต่างๆ แต่ไม่ชอบทำให้จบ นักลิ้มชิมรสที่พัฒนาตนเองแล้ว เป็นนักสังเคราะห์ที่ดี สามารถผสมผสานศาสตร์และความรู้ต่างๆ เป็นนักทฤษฎี เป็นผู้รอบรู้วิทยาการต่างๆ

         ลักษณ์ ๘ เจ้านาย (The boss) ผู้ปกป้องคุ้มครอง ยืนหยัดเพื่อตนเองและเพื่อน ชอบต่อสู้ ชอบเจ้ากี้เจ้าการ ต้องการควบคุมสถานการณ์หรือสิ่งต่างๆ แสดงอำนาจและความโกรธอย่างเปิดเผย ชื่นชมคู่ต่อสู้ที่กล้าลุกขึ้นมาสู้ สร้างความสัมพันธ์ผ่านเซ็กซ์และการเผชิญหน้าแบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน ใช้ชีวิตแบบไม่บันยะบันยัง เกินความพอดี เช่น ทำอะไรมากไปแบบสุดๆ อยู่จนดึกดื่น เอะอะโวยวาย คนประเภทเจ้านายที่พัฒนาตนแล้วจะเป็นผู้นำที่เยี่ยมยอด โดยเฉพาะในบทบาทของนักต่อต้าน เป็นผู้สนับสนุนที่ทรงพลังอำนาจ คอยปกป้องภัยอันตรายให้เพื่อน

          ลักษณ์ ๙ นักไกล่เกลี่ย (The mediator) รู้สึกสองจิตสองใจอยู่ตลอดเวลา มองเห็นมุมมองต่างๆ อย่างรอบด้าน ให้ความสำคัญกับความต้องการของคนอื่น จนละเลยความปรารถนาของตนเอง วุ่นอยู่กับเรื่องที่ไม่สำคัญจนลืมเป้าหมายแท้จริงของตน มีความโน้มเอียงที่จะมอมเมาตนเองด้วยอาหาร รายการโทรทัศน์ เหล้า เข้าใจความต้องการของคนอื่นได้ดีกว่าของตนเอง ชอบใจลอย ไม่แน่ใจว่าต้องการอยู่ตรงนั้นหรือไม่ และอยากเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม เข้ากับคนอื่นได้ง่าย ไม่ค่อยขัดแย้งกับใคร มักแสดงความโกรธแบบอ้อมๆ นักไกล่เกลี่ยที่พัฒนาตนแล้วจะเป็นนักไกล่���กลี่ยหรือผู้ประสานไมตรีที่เยี่ยมยอด เป็นที่ปรึกษา นักเจรจาต่อรอง ประสบความสำเร็จเมื่อมีทิศทางที่ถูกต้อง

          อย่างไรก็ตาม คนแต่ละบุคลิกหรือแต่ละลักษณ์อาจได้รับอิทธิพลจากลักษณ์ที่อยู่ใกล้กันตามเลขที่อยู่ในลำดับก่อนหรือหลังตามแผนที่นพลักษณ์ (Enneagram map) เรียกว่าอิทธิพลของ ปีก ในบางครั้งคนที่มีบุคลิกแบบหนึ่งอาจแสดงออกคล้ายคนอีกแบบหนึ่งเมื่ออยู่ในอารมณ์มั่นคงหรืออารมณ์ผ่อนคลาย โดยจะแสดงด้วยเส้นลูกศรชี้โยงระหว่างจุด เช่น คนประเภทนักลิ้มชิมรส (๗) เมื่ออยู่ในอารมณ์ที่ไม่มั่นคงหรือเครียดมักแสดงออกคล้ายคนสมบูรณ์แบบ (๑) แต่เวลาอยู่ในอารมณ์ผ่อนคลายจะถอยไปคล้ายนักสังเกตการณ์ (๕)

คลิกที่นี่เพื่อทดสอบ http://www.quotev.com/quiz/1229587/What-Enneagram-Type-are-you/

ขอบคุณที่มา
http://www.gotoknow.org/posts/485308
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=124468

บทเพลงน่าฟัง

จดหมายจากพระจันทร์
เข้าไปฟังเลย http://www.youtube.com/watch?v=CDy8OnmlMV4

เธอทั้งนั้น
เข้าไปฟังเลย http://www.youtube.com/watch?v=XzOUhKlfij4

แสงสุดท้าย
พิจิกา http://www.youtube.com/watch?v=IcQXbgN1TZg
Bodyslam  http://www.youtube.com/watch?v=20aa0ugHLhs
The 38 Years Ago http://www.youtube.com/watch?v=K4jdpLeUNsg

ไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้
เข้าไปดูเลย http://www.youtube.com/watch?v=7tfJMqJb76Q

ห่วงใยเหลือเกิน
เข้าไปฟังเลย http://www.youtube.com/watch?v=-6aO7y_iK3Y

มันคงเป็นความรัก
เข้าไปดูเลย http://www.youtube.com/watch?v=R_0zYXxkOPo

แสงของหัวใจ
เข้าไปดูเลย http://www.youtube.com/watch?v=fqd_rN_Z1Xk

นิทาน 
เข้าไปฟังเลย http://www.youtube.com/watch?v=7gzlaVioF5M

การเดินทางที่แสนพิเศษ (พิจิกา)
เข้าไปดูเลย http://www.youtube.com/watch?v=VXj55A5qyq4

ดูหนังมีสาระ

ดูหนังไทย
30 กำลังแจ๋ว 
เข้าไปดูเลย http://www.youtube.com/watch?v=da8QfNS1VEE

ส.ค.ส. สวีตตี้ Sweety
เข้าไปดูเลย http://www.youtube.com/watch?v=0pxNVArisBs



ดูหนังนอก

Twilight breaking dawn Part 2
ภาษาอังกฤษ http://www.youtube.com/watch?v=-a7amohPWUI

บัลลังก์รัก ฉาวโลก : The Other Boleyn Girl (ตำนานเฮนรี่ ที่ 8)
ภาษาต้นฉบับ http://www.youtube.com/watch?v=bNVVb3rqmeM
ภาษาอังกฤษ V.II http://www.youtube.com/watch?v=xftwiCh-xmE


เพิ่มเติม
http://www.nangonly.com/index.html


บทภาวนาของคริสตชน

บทภาวนาคริสตชน ฉบับปรับปรุง 2010/2553
เข้าไปเลย http://www.catholic.or.th/spiritual/prayer/prayernew.pdf
ฉบับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์  http://issuu.com/bosconoom/docs/newcatholicprayer2010

กระบวนการแบบเป็นขั้นตอน

กระบวนการแบบเป็นขั้นตอน

          บทความส่วนใหญ่ในหนังสือคู่มือฯ เล่มนี้เขียนขึ้นมาในแบบที่เหมาะกับการนำไปใช้ในการจัดอภิปรายกลุ่ม มีหลากหลายวิธีที่จะใช้ในการประชุมหรืออภิปรายกลุ่ม สิ่งสำคัญเป็นเรื่องของการรู้จักใช้วิธีการที่จะต้องนำมาทดลองทำดู ถึงกระนั้นก็จำต้องปรับเปลี่ยนวิธีการให้เหมาะกับสถานการณ์เฉพาะต่าง ๆ ด้วย

วิธีจัดกลุ่ม :
1.   หากผู้เข้าร่วมยังไม่รู้จักคุ้นเคยกัน น่าจะเป็นประโยชน์กว่าถ้าผู้จัดอบรมจะจัดพวกเขาเป็นกลุ่ม ๆ
2.   วิธีง่ายวิธีหนึ่ง คือให้ผู้เข้าร่วมประชุมจับฉลากหมายเลข ตัวอย่างเช่น ถ้ามีผู้เข้าร่วม 50 คน และอยากให้มี 6 กลุ่ม ๆ ละ 8-9 คน ก็จัดฉลากหมายเลข 1-6 ให้พวกเขาจับเรียงกันไป
3.   แน่นอน ยังมีวิธีสร้างความสนุกสนานในการจัดกลุ่มด้วย อาทิเช่น เขียนชื่อสัตว์ชนิดต่าง ๆ ไว้ในแผ่นกระดาษ แล้วให้แต่ละคนที่จับได้ชื่อสัตว์นั้น แสดงท่าทางของสัตว์นั้น ๆ ให้ผู้อื่นรู้ว่าเป็นสัตว์ชนิดใด แล้วไปอยู่ในกลุ่มเดียวกัน วิธีสร้างความสนุกสนานเช่นนี้ จะช่วยเสริมสร้างบรรยากาศผ่อนคลายเป็นประโยชน์ต่อการอบรมหรือการอภิปรายที่จะตามมาด้วย
4.  ควรจัดให้แต่ละกลุ่มมีสมาชิกระหว่าง 6-10 คน หากมีผู้เข้าร่วมไม่มาก หรือมีเวลาอบรมหรืออภิปรายน้อย ก็อาจจัดให้มีกลุ่มละ 3-4 คน
5.  เพื่อไม่ให้เสียเวลามากนัก ควรกำหนดสถานที่ประชุมกลุ่มย่อยของแต่ละกลุ่มไปเลย อาทิเช่น กลุ่ม ก อยู่ตรงหน้าบอร์ด  กลุ่ม ข อยู่ที่ระเบียงข้างนอก  กลุ่ม ค อยู่บริเวณห้องครัว เป็นต้น

คำแนะนำ :
          ก่อนที่ผู้เข้าร่วมจะแยกย้ายกันไปประชุมกลุ่ม จำเป็นต้องได้รับการชี้แจงให้ชัดเจนสั้น ๆ ให้ทุกคนทราบถึงสิ่งสำคัญบางประการ และแม้จะชี้แจงแล้ว ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งหากจะเขียนคำแนะนำเหล่านั้นไว้ในกระดาษ หรือบนกระดานดำ เพื่อช่วยให้แต่ละกลุ่มปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว

คำแนะนำเหล่านั้นเป็นเรื่องต่อไปนี้ :
1.             เริ่มต้นด้วยการให้สมาชิกแต่ละคนแนะนำตัวเองสั้น ๆ
2.             แต่ละกลุ่มเลือกสมาชิกคนหนึ่งเป็นผู้นำการประชุม และอีกคนหนึ่งเป็นเลขานุการของกลุ่ม
3.             ผู้นำการประชุมเชิญให้สมาชิกคนหนึ่งสวดเปิดประชุม
4.             ผู้นำการประชุมกำหนดกฎเกณฑ์สำหรับขั้นตอนการประชุม
5.             ผู้นำการประชุมอ่านคำถามหรือหัวข้อที่จะต้องนำมาอภิปรายกันในการประชุมครั้งนั้น

กฎระเบียบที่ควรมีในการประชุมกลุ่ม :
1.  สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมเต็มที่ในการประชุม
2.  ทุกคนย่อมได้รับโอกาสให้พูดเท่าเทียมกัน
3.   ต้องไม่มีใครคนหนึ่งพูดอยู่คนเดียว
4.  ผู้นำการประชุมจะเป็นผู้ให้สัญญาณเตือน... เพื่อบ่งบอกว่าผู้ที่กำลังพูดนั้นมีเวลาเหลืออีก 30 วินาที
5.   ไม่แย่งกันพูด พูดกันทีละคน เวลาคนหนึ่งพูด คนอื่นก็ควรตั้งใจฟังด้วย

ผู้นำการประชุม :
1.  บทบาทของผู้นำการประชุม คือ พยายามให้สมาชิกทุกคนในกลุ่มมีส่วนร่วมเต็มที่ และทำให้ทุกคนรู้สึกสบายใจที่จะพูดออกมา
2.  ผู้นำการประชุมต้องไม่พูดมาก หรือพูดอยู่คนเดียว เขามีหน้าที่คอยกระตุ้นและสนับสนุนให้คนอื่น ๆ ในกลุ่มพูดมากกว่า
3.   ผู้นำการประชุมควรรู้จักใช้ปฏิภาณไหวพริบในการขัดจังหวะผู้ที่พูดมาก เพื่อควบคุมการอภิปราย อาทิเช่น ผู้นำการประชุมควรแทรกเข้ามาตอนที่ผู้นั้นหยุดเว้น ก่อนที่จะพูดต่อแล้วบอกทำนองว่า “ที่คุณกำลังพูดอยู่นั้นเป็นจุดที่น่าสนใจมาก ข้าพเจ้าขอเสนอว่า เราน่าจะนำเรื่องนี้มาพูดกันอีกครั้งหลังจากที่ทุกคนได้มีโอกาสพูดกันแล้วจะดีกว่า” หรือไม่ก็อาจพูดทำนองว่า “คุณครับ เราชอบที่คุณพูดนั้นนะครับ แต่ขอให้หนุ่มน้อยข้าง ๆ แสดงความคิดเห็นของวัยรุ่นดูว่าเขาคิดอย่างไรดีไหมครับ”
4.    ผู้นำการประชุมควรเอาใจใส่ดูด้วยว่าอาจมีคนใดคนหนึ่งในกลุ่มยังรู้สึกประหม่าไม่กล้าพูด ผู้นำฯ ควรดูแลอย่าให้คนอื่นในกลุ่มเพ่งความสนใจไปที่ตัวเขาให้มากนักและอย่าเรียกร้องให้เขาต้องพูดแบ่งปันออกมาในเมื่อเขายังไม่พร้อม ผู้นำฯ อาจช่วยให้เขารู้สึกผ่อนคลายลงด้วยการถามคำถามง่าย ๆ เพื่อเขาจะกล้าพูดออกมาโดยไม่ลำบากนัก อาทิเช่น อาจถามเขาว่า “จากที่คุณเล่านั้น คุณช่วยบอกพวกเราได้ไหมว่าคุณรู้สึกอย่างไรตอนที่คุณจากหมู่บ้านเข้าไปอยู่ในเมือง” ดังนี้ เป็นต้น
5.  หากผู้นำการประชุมมีความรู้สึกว่าการอภิปรายกันในเรื่องนั้นกำลังจะควบคุมไม่อยู่ เขาก็ควรเสนอแนะให้เปลี่ยนเรื่อง หรือไม่ก็ขอร้องให้ใครคนใดคนหนึ่งช่วยสรุปเรื่องที่กำลังพูดคุยกันนั้น

คำถาม/ภารกิจที่ต้องปฏิบัติ :
      มีคำถามหรือภารกิจหลากหลายที่ผู้นำการประชุมพอจะกำหนดให้สมาชิกในกลุ่มทำได้ อาทิเช่น เรื่องต่อไปนี้
1.  ให้สมาชิกผลัดเวรกันอ่านบทความดัง ๆ ให้คนอื่นฟัง
2. แล้วให้มีเวลาเงียบสัก 2-3 นาที โดยแนะนำให้สมาชิกอ่านบทความนั้นเงียบ ๆ พร้อมทั้งโน้ตข้อคิดที่ได้จากบทความนั้นไว้
3.  เชิญสมาชิกกล่าวข้อความหรือถ้อยคำกินใจสำหรับแต่ละคนออกมา
4.  เมื่อทุกคนผลัดกันทำเช่นนั้นแล้ว ก็ให้สมาชิกแต่ละคนอธิบายว่าทำไมจึงรู้สึกสะกิดใจจากข้อความนั้น ๆ พร้อมทั้งชี้แจงเพิ่มเติมด้วยตัววอย่างจากประสบการณ์ของตน
5. เชิญสมาชิกให้บ่งบอกประโยคหรือวลีที่เขาไม่เข้าใจ หรือที่เขาเห็นว่ากำกวม หรือที่เขาไม่เห็นด้วย แล้วเปิดโอกาสให้นำสิ่งเหล่านี้มาอภิปรายกัน

การแบ่งปัน :
1. ในการแบ่งปันกัน สมาชิกแต่ละคนกล่าวออกมาด้วยใจจริงจากประสบการณ์ส่วนตัวของตน โดยมักจะพูดทำนองนี้ว่า “ผมรู้สึกจริง ๆ ในเรื่องนี้ว่า...
      “ดิฉันชอบวิธีที่...
      “มีความหมายเป็นอย่างยิ่งสำหรับข้าพเจ้า...”
2.    ในการแบ่งปันกันไม่มีอะไรที่เรียกว่า “ถูก” หรือ “ผิด” ความเข้าใจและความคิดเห็นของสมาชิกแต่ละคนไม่ถือว่าเป็นสิ่งที่ผิด จึงต้องไม่มีการตัดสินใด ๆ ในเรื่องถูกหรือผิดในการแสดงความคิดเห็น
3.      ทุกคนย่อมมีสิ่งที่ตนจะแบ่งปันเช่นกัน แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่เด่นชัดเพียงเล็กน้อยก็ตาม แม้แต่คำพูดที่ว่า “ดิฉันไม่ทราบว่าจะพูดอะไรดี” หรือที่ว่า “ผมรู้สึกตื่นเต้นที่จะพูดบางอย่างต่อหน้าท่านผู้มีการศึกษาทั้งหลาย” เหล่านี้ก็ถือว่าเป็นการแบ่งปันที่ควรได้รับการตอบรับด้วยเช่นกัน
4.    การแบ่งปันความคิดเห็นแตกต่างจากการอภิปราย การแบ่งปันมุ่งเป็นการเปิดใจกว้างต่อกัน ไม่จำเป็นต้องมีการถกเถียงหรือวิจารณ์ในสิ่งที่แต่ละคนพูดแบ่งปันออกมา การแบ่งปันเป็นเสมือนการเปิดกว้างที่ไม่จำเป็นต้องมีการลงมติตัดสินใจใด ๆ หรือมีการแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต่อสิ่งที่ผู้แบ่งปันกล่าวออกมานั้นเลย
5. กระบวนการแบ่งปันเป็นเสมือนการเชื้อเชิญให้แต่ละคนกล่าวออกมาถึงสิ่งที่ใจตนคิดอยู่ในตอนนั้น การแบ่งปันช่วยให้ผู้ที่รู้สึกไม่มั่นใจกับความคิดเห็นของตนเกิดมีความมั่นใจมากขึ้น ฉะนั้นการแบ่งปันจึงเป็นเพียงขั้นตอนก้าวแรกเท่านั้น

การอภิปราย :
       การอภิปรายมุ่งเน้นให้สมาชิกเข้ามามีส่วนร่วมกันมากกว่าการแบ่งปันกัน การเข้ามามีส่วนร่วมกันเช่นนี้ แสดงออกในหลากหลายรูปแบบแตกต่างกัน ซึ่งก็มักจะเป็นไปในทำนองนี้
1.    เห็นด้วย
“ผมเห็นด้วยเต็มที่กับสิ่งที่คุณเพิ่งกล่าวมานั้น ที่จริงแล้ว ผมอยากจะบอกว่าจากประสบการณ์ ผมเองก็...”
2.     ระดมสมอง
“นั่นเป็นจุดที่น่าสนใจยิ่ง บางทีเราน่าจะฟังจากทุกคนในกลุ่มว่า แต่ละคนมีความคิดเช่นไรต่อเรื่องที่ว่านี้...”
3.   ผนวกความคิดเห็น
“ดิฉันคิดว่าคุณสาลี่พูดถูกต้องทีเดียวว่า... แต่ดิฉันก็เห็นด้วยกับความคิดเห็นของคุณไมตรี บางทีเราน่าจะเอาความคิดเห็นทั้งสองมาพิจารณาร่วมกันแบบสองด้านของเหรียญจะดีไหมคะ...”
4.    โต้แย้ง
“ผมไม่คิดว่าผมเห็นด้วยกับสิ่งที่คุณเพิ่งกล่าวมานั้น บางทีถ้าคุณพิจารณาถึงหัวข้อเรื่อง... คุณก็อาจจะเปลี่ยนใจมายอมรับว่า...”
5.  ชี้แจงเพิ่มเติม
“ดิฉันชื่นชอบสิ่งที่คุณกล่าว แต่ก็คิดว่าเพื่อจะให้คนอื่น ๆ เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น คุณน่าจะชี้แจงเพิ่มเติมว่า...”

การนำเสนอรายงานการประชุมกลุ่ม :
   หลังจากการประชุมหรือการอภิปรายกลุ่มย่อยแล้วควรมีเวลาให้แต่ละกลุ่มนำผลการประชุมที่ได้มารายงานให้ที่ประชุมใหญ่ทราบ มีหลากหลายวิธีที่สามารถนำมาใช้ในการนำเสนอรายงาน อาทิเช่น
1. ให้เลขานุการแต่ละกลุ่มรายงานสั้น ๆ ถึงผลการประชุมในกลุ่มของตน โดยอาจใช้แผ่นใสกับเครื่องฉายภาพนิ่ง หรือไม่ก็ใช้กระดาษแผ่นใหญ่ ๆ เขียนเฉพาะหัวข้อสำคัญ ๆ ที่ได้จากการประชุมกลุ่ม
2.  ถ้าทุกกลุ่มอภิปรายในหัวข้อหรือเรื่องเดียวกัน ก็จะน่าเบื่อมากถ้าจะให้ทุกกลุ่มออกมารายงาน น่าจะให้เลขาฯ ของ 3-4 กลุ่มมาพบกัน เพื่อพิจารณาสิ่งที่จดไว้ แล้วจัดทำเป็นรายงานสรุปขึ้นมาเพียงฉบับเดียวสำหรับรายงานในที่ประชุมใหญ่
3.  ให้ทุกกลุ่มเตรียมพร้อมที่จะนำเสนอรายงานให้ที่ประชุมใหญ่ทราบ โดยใช้วิธีจับฉลากดูว่ากลุ่มใดบ้างจะต้องนำเสนอรายงานก่อน-หลัง แต่ถ้าหากมีถึง 20 กลุ่ม และมีเวลานำเสนอได้ราว 6 กลุ่มเท่านั้น ก็ให้ใช้วิธีจับฉลากดูว่ากลุ่มใดจะเป็นผู้นำเสนอรายงานก่อน-หลัง ส่วนกลุ่มอื่นที่เหลือก็ต้องจัดทำรายงานกลุ่มด้วย เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้สำหรับตนเอง
4. จำเป็นต้องจัดให้มีเวลาเพียงพอที่กลุ่มต่าง ๆ จะจัดเตรียมนำเสนอรายงาน โดยจัดให้มีเวลาพักพอสมควรหลังจบการอภิปรายก่อนจะมีการนำเสนอรายงาน ยกตัวอย่างเช่น หากมีการอภิปรายระหว่าง 10:00-12:00 น. ก็ให้มีช่วงพักยาวตอนอาหารเที่ยง แล้วไปเริ่มขึ้นตอนนำเสนอรายงานเวลา 15:00 น. เป็นต้น
5. สนับสนุนให้มีการใช้การสร้างสรรค์หลากหลายวิธีในการนำเสนอรายงาน อาทิ ใช้วิธีสวมบทบาทแสดงสมมุติ วิธีแสดงละครสั้น หรือละครใบ้ วิธีเล่านิทาน วิธีวาดเป็นภาพการ์ตูน วิธีใช้เศษวัสดุปะติดกันเป็นภาพหรือเรื่องราว วิธีใช้แผนภูมิ วิธีใช้แผ่นโปสเตอร์ ฯลฯ เป็นต้น หากเป็นการนำเสนอรายงานแบบหลากหลายวิธีเช่นนี้ ก็จำเป็นต้องจัดเวลาให้เพียงพอสำหรับกลุ่มต่าง ๆ ที่จะเตรียมการ และมีเวลาพอที่แต่ละกลุ่มจะนำเสนอรายงานตามวิธีการของตนนั้นด้วย



ขอบคุณที่มา
หนังสือ “เสวนา คู่มือทรัพยากรการเสวนาระหว่างศาสนาสำหรับชาวคาทอลิกในทวีปเอเชีย” หน้า (10)-(14)